คาปาซิเตอร์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง วิธีการเลือกคาปาซิเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน การดูค่าความจุคาปาซิเตอร์

Facebook
Twitter
Email

คาปาซิเตอร์หัวใจหลักของเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ทำหน้าที่สำคัญให้เครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณทำงานได้ ซึ่งหากคาปาซิเตอร์เสียเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะหยุดทำงานทันที มารู้จักกับคาปาซิเตอร์ให้มากขึ้น เพื่อที่เวลาเสียจะได้หาตัวใหม่มาทดแทนได้ถูกต้อง

คาปาซิเตอร์ทำหน้าที่อะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง

คาปาซิเตอร์คืออะไร

คาปาซิเตอร์ คือตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่เก็บพลังงาน มีลักษณะเป็น 2 แผ่นประกบกัน ประกอบด้วย 2 แผ่นตัวนำ ที่คั่นกลางด้วย Dielectric ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า คาปาซิเตอร์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในงานอิเล็กทรอนิกส์ นิยมนำมาใช้ประกอบ Filter / By-Pass / Starter เป็นต้น

ชนิดของคาปาซิเตอร์

คาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุแบ่งออกได้ 3 ชนิด ดังนี้

  • ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ (Fixed Capacitor) : ตัวเก็บประจุที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ส่วนมากมักจะมีลักษณะเป็นวงกลมหรือทรงกระบอก มีการบอกค่าที่ตัวเก็บประจุ ส่วนมากพบในวงจรไฟฟ้าในเครื่องขยายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
  • ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor) : ตัวเก็บประจุที่มีค่าการเก็บประจุเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน หรือที่เรียกว่า Trimmer หรือ Padder ซึ่งถ้าเป็น Trimmer คือการต่อขนานกับตัวเก็บประจุตัวอื่น แต่ถ้าเป็น Padder คือการนำไปต่ออนุกรม
  • ตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้ (Select Capacitor) : ตัวเก็บประจุในตัวถังเดียว มีค่าให้เลือกใช้งานมากกว่าหนึ่งค่าดัง

การทำงานของคาปาซิเตอร์

เมื่อนำคาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุต่อเข้ากับวงจรหรือแหล่งจ่ายไฟ ไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลผ่านตัวเก็บประจุได้ ไฟฟ้าจะติดอยู่ที่แผ่นตัวนำ ทำให้ด้านนั้นมีประจุไฟฟ้าลบสะสมอยู่ ส่วนอีกด้านก็จะเป็นประจุไฟฟ้าบวก ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดึงดูดซึ่งกันและกัน ตัวเก็บประจุจะเก็บพลังงานศักย์ที่เป็น Voltage ไว้ หรือในกรณีการคายประจุที่เกิดขึ้นเมื่อตัวเก็บประจุได้ทำงานเก็บประจุ โดยที่ไม่ได้นำขั้วตัวเก็บประจุอีกด้านมาต่อกัน ประจุไฟฟ้าลบจะยังอยู่ที่แผ่นด้านหนึ่ง จนเมื่อนำแผ่นอีกฝั่งมาต่อให้ครบวงจร ประจุลบจะวิ่งผ่านไปที่แผ่นด้านประจุบวกทันที

วิธีการอ่านค่าคาปาซิเตอร์

คาปาซิเตอร์แต่ละชนิดจะมีการอ่านค่าที่ไม่เหมือนกัน โดยคาปาซิเตอร์จะมีทั้งแบบที่อ่านค่าได้โดยตรง และการอ่านแบบตัวเลข โดยมีวิธีการอ่านค่า ดังนี้

  • การอ่านค่าโดยตรง : ส่วนมากจะเป็นคาปาซิเตอร์ที่มีความจุสูง การอ่านค่าจะสามารถอ่านตัวอักษรที่ระบุได้โดยตรง ไม่ต้องถอดความหมาย เนื่องจากมีรายละเอียดระบุไว้ชัดเจน
  • การอ่านแบบตัวเลข : จะเป็นการบอกตัวเลข 3 ตำแหน่ง ตัวที่หนึ่งจะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง ตัวที่สองจะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง และตัวเลขตัวที่สามจะเป็นตัวเติมเลขศูนย์ลงไป (อาจเป็นตัวคูณก็ได้) และมีหน่วยเป็นพิโกฟารัส (pF) เสมอ โดยมีวิธีการอ่านค่า ดังนี้

อัตราทนแรงดันไฟฟ้าตัวเก็บประจุไฟฟ้าแบบรหัสตัวเลข                    

เปอร์เซ็นต์ผิดพลาดตัวเก็บประจุไฟฟ้าแบบรหัสตัวเลข

ค่าผิดพลาดถูกบอกในรูปของอักษรแทนเช่น ตัว J มีค่าผิดพลาดเท่ากับ ± 5%

วิธีการเลือกคาปาซิเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เมื่อรู้วิธีการอ่านค่าคาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุแล้ว ก็จะช่วยให้คุณเลือกคาปาซิเตอร์ให้เหมาะกับการใช้งานได้ ในผู้ใช้งานทั่วไปส่วนมากจะมีโอกาสได้เลือกซื้อคาปาซิเตอร์ก็เมื่อตอนที่ คาปาซิเตอร์ในเครื่องใช้ไฟฟ้าพัง เช่น คาปาซิเตอร์หลอดไฟ คาปาซิเตอร์พัดลม คาปาซิเตอร์ทีวี เป็นต้น โดยการเลือกคาปาซิเตอร์จะต้องเลือกคาปาซิเตอร์ที่มีความจุตรงกับตัวเก่า ทนแรงดันได้เหมาะสมกับการใช้งาน หากหาคาปาซิเตอร์ที่มีความจุเท่ากันไม่ได้ควรเลือกให้ใกล้เคียงมากที่สุด เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน

การเลือกคาปาซิเตอร์อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยากเพราะต้องมีการอ่านค่า แต่ที่จริงนั้นง่ายมากหากเรารู้วิธี หรือจะใช้วิธีโกงเมื่อต้องซื้อคาปาซิเตอร์มาเปลี่ยนกับตัวเดิมที่ชำรุด เพียงนำชิ้นส่วนคาปาซิเตอร์ชิ้นเก่าไปให้ทางร้านช่วยดูก็ได้เช่นกัน

Facebook
Twitter
Email
Picture of PKT Pocket

PKT Pocket

บทความที่น่าสนใจ

PKT LINE QR Code
(มี @ นำหน้าด้วยนะคะ)