5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้งานสปริงดัดท่อร้อยสายไฟ ใช้งานอย่างไร ใช้งานแบบไหนให้เหมาะสมและถูกวิธี

Facebook
Twitter
Email
5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้งานสปริงดัดท่อร้อยสายไฟ

‘สปริงดัดท่อ’ อุปกรณ์สำคัญในงานช่าง โดยเฉพาะงานดัดท่อร้อยสายไฟ ตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะยานยนต์ไปจนถึงการก่อสร้างในอาคาร ต่างก็เลือกใช้สปริงดัดท่อ เพื่อประหยัดเวลาและได้งานดัดท่อที่มีคุณภาพ เพราะงั้นบทความนี้เลยขอพาไปทำความรู้จักกับ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้งานสปริงดัดท่อร้อยสายไฟ ใช้งานอย่างไร ใช้งานแบบไหนให้เหมาะสมและถูกวิธี

สปริงดัดท่อร้อยสายไฟ คืออะไร

สปริงดัดท่อร้อยสายไฟ คือ อุปกรณ์ที่ทำให้การดัดท่อที่ปกติจะเป็นงานยากและเครื่องมือเฉพาะที่อาจต้องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ดัดออกมาได้แนวโค้งที่แม่นยำและตรงใจ ปกติการดัดท่อ ไม่ว่าจะเป็นท่ออะไรก็ตาม (ในบทความนี้จะเน้นไปที่ท่อร้อยสายไฟเป็นหลัก) จะมีการใช้สปริงดัดท่อร้อยสายไฟเป็นแบบสวมหรือครอบอยู่ด้านนอกของตัวท่อ เพื่อช่วยในการดัดโค้งท่อแบบไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลย และสะดวกในการพกพา รวมถึงการดัดมุมให้ได้งานสวยตามต้องการด้วย

ส่วนใหญ่มักมีคุณสมบัติ : สปริงผลิตจากโลหะคุณภาพสูง ทนต่อการกัดกร่อน ยืดหยุ่นดี มีคุณภาพ แข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิมง่าย อายุการใช้งานยาวนาน ดัดท่อโค้งได้ตามต้องการ ด้วยมือเปล่า ทำให้เดินท่อยาวได้แบบไร้รอยต่อ

การใช้งานสปริงดัดท่อ
การใช้งานสปริงดัดท่อ

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้งานสปริงดัดท่อร้อยสายไฟ

ก่อนจะเริ่มต้นใช้งานสปริงดัดท่อร้อยสายไฟ มาดูกันก่อนดีกว่าว่า การใช้งานสปริงดัดท่อร้อยสายไฟใช้งานอย่างไร เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี

1. จะใช้เทคนิคสอดท่อหรือผูกท่อต้องพิจารณาส่วนที่จะดัด

การดัดโค้งท่อมาก ๆ อาจทำให้ท่อพีเอพี เริ่มเสียรูป (เกิดการหักงอบิดเบี้ยว) ได้ เพราะงั้น กรณีดัดโค้งมากๆ จำเป็นต้องสอดสปริงดัดท่อเข้าไปในท่อ จะป้องกันการเสียรูปของท่อได้

ถ้าเป็นการดัดที่ปลายท่อ ก็เพียงแค่สอด สปริงดัดท่อ เข้าไปในท่อ แล้วใช้แรงดัดท่อ แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงปลายท่อ ก็ให้ผูกเชือกกับสปริงไว้ใหนแน่นหนา วัดระยะเชือกให้พอดีกับบริเวณที่เราจะดัดโค้ง สอดสปริงดัดท่อเข้าไปในท่อ แล้วออกแรงดัด เมื่อเสร็จแล้ว ก็ดึงเชือกเพื่อดึงสปริงดัดท่อออก

2. เป่าท่อด้วยลมร้อน เพื่อให้ดัดง่าย

การใช้สปริงดัดท่อร้อยสายไฟจะทำได้ง่ายมากขึ้น ลดทั้งระยะเวลาในการทำงานและพลังงานที่เราต้องใช้ในการดัดท่อ เมื่อมีอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น เครื่องเป่าลมร้อน (บางทีถ้าไม่มีก็ใช้เครื่องเป่าผมที่ปรับลมร้อนได้) ฯลฯ เพื่อป้องกันการดัดท่อแล้วหัก ขาด ไม่ตรง หรือดัดออกมาขาดๆ เกินๆ ไม่ตรงกับที่ต้องการ

3. ใช้เชือกเพิ่มเมื่อท่อยาวเกินกว่าสปริงดัดท่อ

เมื่อท่อร้อยสายไฟที่ต้องการดัดมีความยาวเกินกว่าสปริงดัดท่อก็ไม่จำเป็นที่จะต้องต่อด้วยสปริงดัดท่อหลายชิ้น เพียงแค่น้ำสปริงดัดท่อมาผูกด้วยเชือกหรือผ้าเส้นเล็กที่มีความแข็งแรงก็สามารถผูกยึดบริเวณปลายแล้วสอดเข้าท่อที่ต้องการดัดหรือนำไปติดกับท่อที่ต้องการดัดแล้วใช้วิธีการดัดท่อร้อยสายไฟได้ตามปกติเลยทำให้การดัดท่อไม่ต้องเปลืองแรงและง่ายกว่าที่คิด

4. กะระยะให้ตำแหน่งที่ต้องการดัดอยู่กึ่งกลางสปริง

เพราะการใช้สปริงดัดท่อจะวางตำแหน่งของสปริงให้อยู่ตรงไหนของท่อก็ไม่ได้จะมีผลเรื่องของความสวยงามที่อาจดัดออกมาได้ไม่ตรง เบี้ยว หรือขาดบ้าง และอาจต้องใช้แรงในการดัดที่เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้ามีการกะระยะบนท่อเพื่อวางตำแหน่งที่ต้องการดัดอยู่กึ่งกลางสปริงก็จะทำให้ดัดองศาได้ตามต้องการ ไม่พลาด ไม่เบี้ยว ไม่ต้องใช้แรงเยอะเลยล่ะ

5. เลือกใช้ขนาดสปริงที่เหมาะกับท่อ

ปกติแล้วจะมีสปริงดัดท่อร้อยสายไฟให้เลือกหลายแบบหลายขนาดเหมาะกับการใช้งาน ถามว่าจะดูยังไงว่า แบบไหนถึงจะเหมาะกับการใช้งาน ก็ต้องมาดูว่า ขนาดเหมาะกับท่อที่จะใช้หรือไม่ แล้วค่อยตัดท่อให้ได้ความยาวตามต้องการก่อนจะเริ่มดัดท่อ

สปริงดัดท่อ ไม่ได้ใช้งานยากอย่างที่คิด แถมยังถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์กันตายที่เหล่าช่างต้องพกไว้ติดกระเป๋าเครื่องมือ เพราะงานเดินท่อ – ดัดท่อ เป็นงานสำคัญที่ไม่ว่าจะงานเล็กในบ้านไปจนถึงงานในโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ต่างก็ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ กรณีที่ใช้เครื่องดัดท่อแบบไฟฟ้าแล้วไม่สะดวกสบายหรือทำงานได้ไม่ตรงใจ อย่างน้อยก็ยังมีสปริงดัดท่อร้อยสายไฟที่ยังคงตอบโจทย์การใช้งานด้านการดัดท่อเสมอ

Facebook
Twitter
Email
Picture of PKT Pocket

PKT Pocket

บทความที่น่าสนใจ

PKT LINE QR Code
(มี @ นำหน้าด้วยนะคะ)